มหัศจรรย์ลูกชิ้นตกทะลุมิติ (อังกฤษ: Cloudy with a Chance of Meatballs) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์อเมริกันแนวนิยายวิทยาศาสตร์ตลกที่ออกฉายใน ค.ศ. 2009 ผลิตโดยโซนี่พิคเจอร์สเอ็นเตอร์เทนเมนต์ มีเนื้อหาอ้างอิงจากหนังสือนิทานที่มีชื่อเดียวกันที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1978 โดยจูดีและรอน บาร์เร็ต ภาพยนตร์เขียนบทและกำกับโดยฟิล ลอร์ด และ คริสโตเฟอร์ มิลเลอร์ ซึ่งถือเป็นงานกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกของพวกเขา และให้เสียงพากย์โดยบิล เฮเดอร์, แอนนา ฟาริส, เจมส์ คาน, แอนดี แซมเบิร์ก, บรูซ แคมป์เบล, มิสเตอร์ที, เบนจามิน แบร็ต และนีล แพทริก ฮาร์ริส ภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักประดิษฐ์ผู้ล้มเหลงนามว่าฟลินต์ ล็อกวุด ได้ผลิตเครื่องจักรที่สามารถแปลงน้ำเป็นอาหารได้ แต่หลังจากนั้นเครื่องจักรเริ่มมีจิตใจเป็นของตัวเองและเริ่มสร้างพายุอาหาร ทำให้ฟลินต์ต้องหาทางแก้สถานการณ์เพื่อกอบกู้โลกให้ได้
ภาพยนตร์ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ลอสแอนเจลิสเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2009 และฉายทั่วสหรัฐในอีกหกวันถัดมาโดยโซนี่พิคเจอร์สรีลีสซิ่งภายใต้การดำเนินงานของโคลัมเบียพิคเจอร์ส ภาพยนตร์สร้างด้วยงบประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำรายได้ทั่วโลก 243 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] โดยได้รับคำชื่นชมเชิงบวกจากนักวิจารณ์ในแง่ของภาพ ความตลก ตัวละคร การพากย์เสียง และเพลงประกอบ แม้ว่าการออกแบบตัวละครจะถูกมองว่าไม่ค่อยเหมาะสมก็ตาม ภาพยนตร์ได้มีการขยายเป็นแฟรนไชส์ หลังจากที่มีการฉายภาพยนตร์ภาคต่ออย่าง มหัศจรรย์ลูกชิ้นตกทะลุมิติ 2 เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2013 เช่นเดียวกันกับการผลิตซีรีส์โทรทัศน์ซึ่งออกอากาศทางช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017
นักแสดง มหัศจรรย์ลูกชิ้นตกทะลุมิติ
- Bill Hader เป็น Flint Lockwood มหัศจรรย์ลูกชิ้นตกทะลุมิติ
- Anna Faris เป็น Samantha Sparks
- James Caan เป็น Tim Lockwood
- Neil Patrick Harris เป็น สตีฟ
- ลิงเป็นสัตว์เลี้ยงของ Flint
- Bruce Campbell เป็น Mayor Shelbourne
เพลงประกอบภาพยนตร์
- Cloudy With A Chance Of Meatballs
- ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดยMark Mothersbaugh
- วางตลาด 15 กันยายน, 2009
- บันทึกเสียง 2009
- แนวเพลง Soundtrack
- ค่ายเพลง Sony Pictures Entertainment
- “Don’t Stop Believin'” – Cloudy with a Chance of Meatballs Cast
- “Raining Sunshine” – Miranda Cosgrove[7]
- “Sunshine, Lollipops and Rainbows” – Lesley Gore
- “Fight the Power” – Public Enemy
- “Any Way You Want It” – Journey
- “Sirius” – The Alan Parsons Project
- “Promises” – Trevor Rabin
- “Run This Town” – Cloudy with a Chance of Meatballs Cast
- “Tap, Tap, Tap (Cover of Handwriting Without Tears Song)” – Cloudy with a Chance of Meatballs Cast
- “I Gotta Feeling” – Cloudy with a Chance of Meatballs Cast
- “Under Pressure (Ice Ice Baby)” – Cloudy with a Chance of Meatballs Cast
- “The Live Show Medley (Don’t Stop Believin’/Run This Town/Tap, Tap, Tap/I Gotta Feeling/Under Pressure (Ice Ice Baby)/Together Again/Look at the Clock/The Lunch Munch Song/Choo-Choo On Down The Track/The Smashed Patato/My Body Clock)” – Cloudy with a Chance of Meatballs Cast
เรื่องย่อ มหัศจรรย์ลูกชิ้นตกทะลุมิติ (Cloudy with a Chance of Meatballs)
เมื่อสิ่งประดิษฐ์ชิ้นล่าสุดของฟลินท์ ล็อควู้ด สร้างความเสียหายให้กับเมืองก่อนพุ่งทะยานหายวับเข้าไปในกลีบเมฆ เขาคิดว่าอาชีพนักประดิษฐ์ของเขาต้องจบลงเพียงเท่านี้ แต่หลังจากนั้นเรื่องประหลาดมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้นเมื่อชีสเบอร์เกอร์รสเลิศจำนวนมากร่วงหล่นลงมาอย่างกับสายฝน นั่นแสดงว่าผลงานของเขามันเวิร์ค! แต่เมื่อสิ่งประดิษฐ์เริ่มทำงานอย่างบ้าคลั่ง จึงเป็นหน้าที่ของฟลินท์และนักข่าวพยากรณ์อากาศสาว แซม สปาร์คส์ ที่ต้องร่วมกันค้นหาหนทางที่จะปิดเครื่องเจ้าปัญหา และปกป้องเมืองให้พ้นจากภัยอันแสนโอชะครั้งนี้ให้ได้!
ปิดโลกจินตนาการณ์ไปอีกขั้นสำหรับอนิเมชั่นผจญภัยแฟนตาซี เรื่องมหัศจรรย์ลูกชิ้นตกทะลุมิติ (Cloudy with a Chance of Meatballs) ที่มหัศจรรย์กว่าชื่อเรื่องก็เห็นจะเป็นเนื้อหาของเรื่องนี่แหล่ะค่ะทั้งสนุกและน่าติดตามทุกฉาก ตัวละครก็น่ารัก เนื้อหาของเรื่องก็มีครบทุกรสเลยเลยล่ะค่ะดูแล้วหิวไปตามๆกันอีกทั้งยังสามารถรับชมได้ทุกวัยด้วยนะคะ ในส่วนของภาพและเสียงหายห่วงเลยค่ะเพราะ ผลิตโดย Sony Pictures Animation ไม่เคยทำให้ผิดหวังเลยล่ะค่ะ
เเต่ว่าหนังนั้นตอนหลังๆนั้นทำมาเพื่อเด็กจนผมเกือบหลับ เเม้ว่าจะมีฉากทะลุจอ หรือเสียงดรตรีอันระทึกใจ เเต่มันก็เด็กเเสนเด็กมากๆ จนต้องเอามือเท้าคางไว้เลยเเต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าเรื่อง G-Force ที่เรื่องนั้นเด็กไปทั้งเรื่อง น่าเบื่อมาก เเต่ไอ Meatballs นี้มันยังมีสาระซะหน่อย สรุปของเนื้อเรื่องเเล้วนั้น หนังนั้นผ่านเลย เเละโดยร่วมเเล้วนั้นเรื่องนี้ก็ดูได้ทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่ เเละนักพากย์เเละผู้กำกับในเรื่องนี้ก็มีชั้นนำดีเหมือนกัน เรื่องนี้ Phil Lord ผู้กำกับโนเนม เเละ Chris Miller ผู้กำกับจาก Shrek The Third มากำกับเรื่องนี้ เรื่องนั้นอยากบอกว่า 2 ผู้กำกับคนนี้นั้นทำรายละเอียดหลังๆได้ดีมาก เน้นรายละเอียดด้านหลังอย่างดีเลยหล่ะครับ ชอบตรงนี้เเหละครับกับอนิเมชั่นของ Sony
เรื่องนี้มันมาในเเนวสาระที่บอกว่า “อยากทำอะไรก็ทำไปเถอะ” เพราะดูจากเเนวการของพระเอกนั้นที่ตอนเเรกประดิษฐ์อะไรก็ได้ เเต่ผลไม่สำเร็จ เเต่เขาก็ยังทุ่มเทต่อไป ซึ่งเหมือนกับนางเอก เเซม ที่ไม่อยากเป็นสาวเนริดเพื่อทำให้ทุกคนไม่ล้อเธอ เเต่จริงๆเเล้วนั้นเธอก็ห้ามตัวเองไม่ได้เหมือนกัน
เเละหนังนั้นยังได้ให้ความซึ้ง เเละประทับใจค่อนข้างดีด้วย ผมไม่เเปลกใจเลยทำไมเป็นขวัญใจของนักวิจารณ์หลายคน